วันที่ 29-30 มกราคม 2568 นายทิพเมษฐ์ สังขวรรณะ ผอ.ปปส.ภ.1 มอบหมายให้ ว่าที่ ร.ต.อากาศ ปานแย้ม นวค.ชช. นายชลัช นนทิวัฒนกุล นวค.ชก. และนายวัชรภูมิ โรจนพร นวค.ปก. ปฏิบัติราชการในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง ดังนี้
1. นายวชิระ โชติรสเศรณี นายอำเภอสามโก้ เป็นประธานประชุมคณะทำงานติดตามผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตจากการใช้สารเสพติด พร้อมด้วยฝ่ายความมั่นคงอำเภอสามโก้ เจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดอ่างทอง หัวหน้าสาธารณสุขอำเภอสามโก้ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสามโก้ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกตำบล ณ ห้องประชุมสาธารสุขอำเภอสามโก้ อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง ประชุมผลดำเนินงานติดตามผู้ป่วยที่มีการทางจิตจาการใช้สารเสพติด ประจำเดือน มกราคม โดยเจ้าหน้าที่ ปปส.ภ.1 ได้นำเสนอข้อมูลการสนับสนุนโดยงบประมาณเงินอุดหนุน เช่น การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการติดตามดูแลผู้เสพ และผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตจากการใช้สารเสพติด รวมถึงโครงการฝึกอบรมการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ อสม. เป็นต้น และนำเสนอรายละเอียดการขอรับทุนประกอบอาชีพทั้งกลุ่มเสี่ยง และผู้ผ่านการบำบัด เพื่อเป็นการสนับสนุนงานด้านการฟื้นฟูให้กับพื้นที่อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ยังได้นำเสนอการทำ CBTx ในพื้นที่อำเภอสามโก้ โดยใช้ฐานข้อมูลผู้เสพในพื้นที่ที่อำเภอดำเนินการติดตามอยู่แล้ว มาเข้าสู่ระบบ CBTx เพื่อให้การติดตามผู้ป่วยเป็นระบบมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการพัฒนารูปแบบการทำงานของ ศป.ปส.อ.สามโก้ ให้ครบทุกมิติ ทั้ง ปราบปราม ป้องกัน และบำบัดรักษา ทั้งนี้ ศป.ปส.อ.สามโก้ จะประชุมเพื่อหารือถึงแนวทาง และวัน เวลา
ในการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่องไป
2. ประสานการจัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณเงินอุดหนุนร่วมกับเครือข่ายกองทุนแม่อำเภอเมืองอ่างทอง โดยเจ้าหน้าที่ได้ให้ข้อมูลหลักเกณฑ์การขอรับเงินฯ รวมถึงกรอบการสนับสนุนของสำนักงาน ปปส.ภ.1 ทั้งนี้ เครือข่ายฯ จะดำเนินการจัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนฯ มายัง ปปส.ภ.1 ต่อไป
3. ส่งมอบชุดตรวจสารเสพติดเมทแอมเฟตามีน จำนวน 520 ชุด และชุดตรวจเคตามีน จำนวน 40 ชุด ให้กับฝ่ายปกครองอำเภอสามโก้ เพื่อใช้ประโยชน์ในการตรวจหาสารเสพติดในพื้นที่อำเภอสามโก้ต่อไป
4. ว่าที่ ร.ต.อากาศ ปานแย้ม นวค.ชช. พร้อมด้วยคณะ เข้าร่วมประชุม ศอ.ปส.จ.อท. ครั้งที่ 1/2568 ณ ศาลากลางจังหวัดอ่างทอง โดยมีนายชวนินทร์ วงศ์สถิตจิรกาล เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดอ่างทอง (ศอ.ปส.จ.อท.) ครั้งที่ 1/2568 พร้อมด้วยนายไพบูลย์ ศุภบุญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง, อัยการจังหวัดอ่างทอง, ตำรวจภูธรจังหวัดอ่างทอง, รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดอ่างทอง , หัวหน้าสำนักงานจังหวัดอ่างทอง, นายอำเภอทุกอำเภอ, หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และผู้บริหารสถานศึกษา เข้าร่วมประชุม เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามนโยบายรัฐบาล
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รายละเอียด ดังนี้
1. ประธานได้เน้นย้ำในที่ประชุมว่าปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาระดับชาติ ต้องบูรณาการการทำงานจากทุกฝ่าย และผู้บังคับหน่วยทุกหน่วยต้องให้ความสำคัญ โดยได้สั่งการให้การประชุม ศอ.ปส.จ. ทุกครั้งจะต้องมีนายอำเภอ
ทุกอำเภอ และผู้กำกับทุก สภ. (ตัวจริง) เข้าร่วมประชุมด้วยทุกครั้ง เพื่อรับทราบสถานการณ์ ปัญหา และข้อสั่งการ
เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนในพื้นที่อย่างแท้จริง
2. ผู้แทนสำนักงาน ปปส.ภ.1 ได้นำเสนอสถานการณ์ยาเสพติดในพื้นที่ ปปส.ภ.1 และพื้นที่จังหวัดอ่างทอง , ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดตามแผนจังหวัด ปีงบประมาณ 68 ที่ยังมีผลการดำเนินงานต่ำ เพื่อเป็นประโยชน์ในการติดตามก่อนการประชุม ครส.ครั้งที่ 3/2568 , การขับเคลื่อนในมิติด้านการป้องกันในสถานประกอบการ (นิคมอุตสาหกรรม) สถานศึกษา (บุคลากรทางการศึกษา/ครู) และการเพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่ด้านการข่าว นอกจากนี้ ผชช. ยังได้นำเสนอการตรวจปัสสาวะในกลุ่มนักเรียน เพื่อหาสารนิโคตินจากบุหรี่ไฟฟ้า โดยยกตัวอย่างจากการดำเนินงานในจังหวัดปทุมธานี (ปทุมธานีโมเดล) เนื่องจากบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสารตั้งต้นในการนำไปสู่การเสพยาเสพติด และเป็นการอำพรางการเสพ
ยาเสพติดโดยเสพในรูปแบบของการผสมยาเสพติดและน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า
3. หน่วยงานในพื้นที่นำเสนอ กิจกรรมกองทุนแม่ของแผ่นดิน (251 หมู่บ้าน), การดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบกิจการ, มาตรการบำบัดรักษายาเสพติดของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง, โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (TO BE NUMBER ONE) จังหวัดอ่างทอง และมาตรการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ
4. ประธานมีข้อสั่งการดังนี้
- ให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดระเบียบสังคมของจังหวัด โดยให้เพิ่มภารกิจการตรวจปัสสาวะเพื่อหาสารเสพติดผู้มาใช้บริการสถานประกอบการคล้ายสถานบริการ
- ขอให้ ตร. ขยายผลจากผู้เสพให้ไปถึงผู้ค้าทั้งรายย่อย และรายสำคัญในพื้นที่ให้ถึงที่สุด เพื่อเป็นการลดปัญหายาเสพติดในพื้นที่อีกทางหนึ่ง ในส่วนของผู้เสพให้ดำเนินการตามกระบวนการบำบัดรักษาของสาธารณสุข
- ขอให้ สสจ.อ่างทอง ดำเนินการประสานในรายละเอียดเรื่องชุดตรวจนิโคตินร่วมกับ สสจ.ปทุมธานี เพื่อหาแนวทางในการจัดซื้อชุดตรวจนิโคติน ต่อไป
- ขอให้เครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดินเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้มากขึ้น
โดยเน้นย้ำให้เครือข่ายฯ ต้องมีส่วนช่วยดำเนินการ Re X-ray ผู้เสพในพื้นที่ เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับหมู่บ้าน/ชุมชน มากกว่าเจ้าหน้าที่ และภารกิจหลักของกองทุนแม่คือการแก้ไขปัญหายาเสพติด จึงต้องมีการขับเคลื่อน และต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้มากขึ้น
- เร่งรัดให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำข้อมูลผลการดำเนินงานเข้าสู่ระบบ Nispa+ ให้เป็นปัจจุบัน