ผอ.ปปส.ภ.1 พร้อมด้วยคณะ ปฏิบัติราชการในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดอ่างทอง

เมื่อวันที่ : 27 มี.ค. 2568 18:42
หน่วยงาน : สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 1
16 ครั้ง

  วันที่ 27 มีนาคม 2568 นายทิพเมษฐ์ สังขวรรณะ ผอ.ปปส.ภ.1 พร้อมด้วยคณะ ปฏิบัติราชการในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดอ่างทอง ดังนี้

1. นายทิพเมษฐ์ สังขวรรณะ ผอ.ปปส.ภ.1 และ นางสาววนิดา เกตุบำรุง นวค.ชก. เข้าร่วมประชุม ศปก.ครส.ครั้งที่ 6/68 ณ ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมี นายเดชาธร เชาว์เลขา ปลัดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ซึ่งเป็นการรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์เกี่ยวกับยาเสพติด ระหว่างวันที่ 11-25 มี.ค.68              
   - มิติด้านการปราบปราม ผลการจับกุมข้อหาร้ายแรง/ข้อหาสมคบและสนับสนุน/การยึด อายัดทรัพย์สินคดียาเสพติด ผลการดำเนินงานต่อเครือข่ายรายสำคัญและเจ้าหน้าที่รัฐ ร้อยละของผู้ต้องหาที่เลขาธิการ ป.ป.ส.อนุมัติแจ้งข้อหาสมคบ สนับสนุน ช่วยเหลือและร้อยละของการรายงานการแจ้งข้อหาฯ                           
       - มิติด้านการแก้ไขปัญหาผู้เสพยาเสพติด การนำผู้เสพ/ผู้ติด และผู้เสพที่มีอาการแทรกซ้อนด้านสุขภาพ การดูแลช่วยเหลือผู้เข้ารับการบำบัด ข่าวผลกระทบ                                    
       - มิติด้านการป้องกันยาเสพติด การดำเนินการต่อกลุ่มเสี่ยง การจัดระเบียบสังคมและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน                                 
       - มิติด้านการบริหารจัดการ ผลการเบิกจ่ายงบประมาณที่ได้รับการสนบสนุนจากสำนักงาน ป.ป.ส.  และการติดตามงานในมิติต่างๆ

2. นายวัชรภูมิ โรจนพร นวค.ปก. เข้าร่วมประชุมศูนย์ปฏิบัติการติดตามเร่งรัดการบำบัดรักษา ฟื้นฟูสภาพทางสังคม ป้องกัน และปราบปรามยาเสพติดครั้งที่ 6/2568 (ศปก.ครส.) ณ ศาลากลางจังหวัดอ่างทอง โดยมี พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ เลขาธิการ ป.ป.ส. เป็นประธานการประชุมผ่านระบบประชุมทางไกล (Webex) ณ ห้องประชุมชิดชัย วรรณสถิตย์ สำนักงาน ป.ป.ส. และ นายนิมิต ปัทมเจริญ ปลัดจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานในห้องประชุมฯ  และผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วยผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ และผู้แทนหน่วยงานระดับ function ทั้งด้านการปราบปราม ด้านการป้องกัน และด้านการบำบัดรักษา เข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน โดยมีการรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดในแต่ละมิติ ซึ่งจังหวัดอ่างทองมีผลการดำเนินงานในระบบผ่านเกณฑ์ห้วงเวลา ครบตามเงื่อนไขที่กำหนด

3. นายทิพเมษฐ์ สังขวรรณะ ผอ.ปปส.ภ.1 และคณะ เข้าร่วมประชุม ศอ.ปส.จ.อย. ครั้งที่ 3/68 ณ ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมี นายประพันธ์ ตรีบุบผา รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธานการประชุม สรุปผลการประชุม ดังนี้
    3.1  ผู้แทน ปปส.ภ.1 นำเสนอสถานการณ์ยาเสพติดในพื้นที่ ปปส.ภ.1 และพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นโยบายและข้อสั่งการที่สำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติด รวมถึงแนวทางการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก (26 มิถุนายน 2568) 
    3.2 ศอ.ปส.จ.อย. รายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด 17 ตัวชี้วัด 
และนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี โดยประธานฯ ได้ให้ข้อสังเกตในการจัดทำข้อมูลกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชฯ ว่าควรเป็นแนวทางเดียวกันกับสาธารณสุข และควรกำหนดเป็นห้วงเดือนในการติดตาม เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการติดตาม และดูแลผู้ป้วยในพื้นที่
    3.3 หน่วยงานในพื้นที่นำเสนอผลการดำเนินงานในห้วงเดือน มีนาคม 2568
    3.4 ผอ.ปปส.ภ.1 มีข้อสังเกต ดังนี้
    - เนื่องจากจังหวัดอยุธยาเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการนำยาเสพติดเข้ามาจากทุกทิศทาง และนักค้าฯ จะอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น การท่องเที่ยว การเกษตร และปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการกระจายยาเสพติดในพื้นที่ ดังนั้น จังหวัดจึงควรมีทรัพยากรที่มีศักยภาพในการดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดในทุกมิติ ซึ่งต้องอาศัยการบูรณการจากหน่วยงานทั้งในและนอกพื้นที่ รวมถึงการนำภาคประชาชน และชมรมจิตอาสาต่าง ๆ เข้ามาช่วยเฝ้าระวัง สอดส่องความผิดปกติ ในพื้นที่ของตนเอง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชน นอกจากนี้ยังได้เสนอให้จังหวัดเข้าไปดำเนินการในพื้นที่เป้าหมายที่คาดว่าเป็นปัญหาในชุมชนจริง ๆ นอกเหนือจากเป้าหมายที่กำหนดไว้ในตัวชี้วัด เพื่อสร้างความพึงพอใจ และความเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรม
    - การใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาให้ความดีความชอบกับเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานอย่างจริงจัง เช่น ขั้นยาเสพติด เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน และการพิจารณาโยกย้ายเจ้าหน้าที่ที่ยังขาดศักยภาพในการปฏิบัติงานด้านยาเสพติด
    - การดำเนินงานด้านยาเสพติดของ อปท. นั้น โดยปกติจะมีการขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันสิ่งเสพติด และอบายมุขต่าง ๆ ในพื้นที่เป็นปกติ แต่ยังขาดการเชื่อมโยงภารกิจของ อปท. กับ งานยาเสพติด จึงทำให้ขาดผลการดำเนินงานในส่วนนี้ โดย ผอ.ปปส.ภ.1 ให้เสนอแนวทางให้ อปท. นำเรื่องยาเสพติดเข้าไปผนวกกับโครงการฯ เพื่อที่จะได้สามารถนับผลการดำเนินงานของ อปท. 
    - ควรจัดทำ MOU ระหว่าง ศาล สาธารณสุข และกรมคุมประพฤติ เนื่องจากส่วนมากศาลจะดำเนินการสั่งให้บุคคลนั้น เข้าสู่กระบวนการคุมประพฤติ ตาม ปอ. ม.56 (ม.166) ภายใต้การดูแลของกรมคุมประพฤติ เนื่องจากยังไม่มั่นใจในกระบวนการตามประมวลกฎหมายยาเสพติด ม.166 และ ม.168 จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ยอดผู้เข้ารับการบำบัดในระบบ บสต. น้อยกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งปัจจุบันมีจังหวัดสระบุรี และจังหวัดลพบุรี ที่ดำเนินการจัดทำ MOU ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว จึงทำให้มีผู้เข้ารับการบำบัดตาม ม.166 และ ม.168 มากขึ้น ส่งผลให้ผลการดำเนินงานด้านการบำบัดรักษาตามตัวชี้วัดของจังหวัดเพิ่มมากขึ้นด้วย

YouTube Instagram X Line search download
Q&A FAQ