ปปส.ภ.1 ร่วมประชุมประสานงานด้านการข่าวพื้นที่ภาคกลาง ครั้งที่ 1/2568

เมื่อวันที่ : 14 มี.ค. 2568 14:35
หน่วยงาน : สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 1
24 ครั้ง

    วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม 2568 นายทิพเมษฐ์ สังขวรรณะ ผอ.ปปส.ภ.1 มอบหมายให้ นางสาวปิยมาพร นามวงษ์ (ผอ.บก.) พร้อมด้วย นายกุศล หนองบัว (นวค.ชำนาญการ) เข้าร่วมประชุมประสานงานด้านการข่าวพื้นที่ภาคกลาง ครั้งที่ 1/2568 (พื้นที่ จ.ชัยนาท จ.สิงห์บุรี จ.อ่างทอง และ จ.พระนครศรีอยุธยา) ณ ห้องประชุมโรงแรมเซ็นทารา จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีนายดิพงค์ นลินานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานข่าวกรองแห่งชาติ ภาค 1 เป็นประธาน ผู้เข้าร่วมประชุมฯ ประกอบไปด้วย ผู้แทน ศรภ., ขกท., ตร.ภ.จว., ตร.สันติบาล, กอ.รมน.จังหวัด และป้องกันจังหวัดในพื้นที่ 4 จังหวัดข้างต้น  สรุปประเด็นสำคัญเบื้องต้น ดังนี้
1) แลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์ทางการเมือง แนวโน้มการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆในพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันแม้ว่าหลายพื้นที่อยู่ในช่วงใกล้เลือกตั้งระดับท้องถิ่น แต่ยังไม่พบปัญหา/ผลกระทบใดๆ
2) สถานะความเคลื่อนไหวของกลุ่มพลังมวลชนที่ได้รับความเดือดร้อน โดยเฉพาะกลุ่มเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย (คนท.) ซึ่งได้รับผลกระทบจากราคาผลผลิตที่ตกต่ำ หากยังไม่ได้รับการแก้ไขอาจมีการยกระดับการชุมนุมหรือม็อบ เพื่อเรียกร้องการประกันราคาผลผลิตจากรัฐบาล
3) ปปส.ภ.1 ได้นำเสนอสถานการณ์ยาเสพติดประจำปีงบประมาณ 2567-2568 ในพื้นที่รับผิดชอบ ประกอบด้วย คดีสำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 68 เปรียบเทียบกับปีงบฯ 67, คดีสำคัญในห้วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2568, ชนิดยาเสพติด ลักษณะหีบห่อบรรจุภัณฑ์ของยาเสพติดที่แพร่ระบาดในพื้นที่, ลักษณะการซุกซ่อนอำพรางและเส้นทางลำเลียงยาเสพติดจากภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่พื้นที่ภาคกลาง, พื้นที่/แหล่งพักยาเสพติด และจุดที่ควรเฝ้าระวังในเส้นทางลำเลียงยาเสพติดจากการวิเคราะห์ข้อมูลเส้นทางลำเลียงยาเสพติดในคดีสำคัญปีงบประมาณ 67-68
4) สถานการณ์แรงงานต่างด้าวในพื้นที่ จากการขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมทำให้ดึงดูดแรงงานต่างด้าวเข้ามาในประเทศ ทั้งชาวเมียนมาร์ กัมพูชา ลาว และเวียดนาม จึงยังพบกลุ่มขบวนการลักลอบนำแรงงานต่างด้าวเข้าสู้พื้นที่ และยังพบว่ามีแรงงานชาวจีน อินเดีย ที่ไม่มีใบอนุญาตฯ ลักลอบเข้าทำงานในนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น จึงต้องมีมาตรการปราบปรามจับกุมและเฝ้าระวังกลุ่มขบวนการฯ อย่างต่อเนื่อง
5) สถานการณ์ของกลุ่มต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ในปัจจุบันการแสดงออกของกลุ่มต่อต้านสถาบันฯ ในลักษณะการชุมนุมนั้นเบาบางลง แต่จะปรับเปลี่ยนไปเคลื่อนไหวในโลกออนไลน์ตามสื่อโซเชี่ยลต่างๆ โดยจะใช้วิธีปลูกฝังความคิดให้กับกลุ่มเด็กและเยาวชน และปัญหาใหม่ในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อสถาบันฯ เป็นอย่างยิ่งคือ กลุ่มที่แอบอ้างสถาบันฯ ไปใช้หาผลประโยชน์ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก หน่วยงานด้านความมั่นคงจึงต้องเฝ้าระวังติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป

YouTube Instagram X Line search download
Q&A FAQ