วันจันทร์ที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ นายทิพเมษฐ์ สังขวรรณะ ผอ.ปปส.ภ.๑ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรวิทยากรกระบวนการกองทุนแม่ของแผ่นดิน ระดับพื้นที่ (ครู ข) ประจำปี ๒๕๖๘ ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครนายก ตำบลสาริกา อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ผู้เข้ารับการอบรม จาก ๔ จังหวัด คือจังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดลพบุรี ประกอบด้วย สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด ประธานเครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดินจังหวัด และเครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดินอำเภอ รวมจำนวนทั้งสิ้น ๑๐๐ คน ซึ่งโครงการจัดระหว่างวันที่ ๑๗-๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ โดยมีวัตถุประสงค์
๑. สร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานกองทุนแม่ของแผ่นดินในระดับพื้นที่
๒. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้และทักษะในการเป็นวิทยากรกระบวนการกองทุนแม่ของแผ่นดิน ไปขับเคลื่อนการฟื้นฟูศักยภาพกองทุนแม่ฯ ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานการณ์ปัจจุบันตามแผนปฏิบัติการฯ ระยะ ๓ ปี
วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ บรรยายในหัวข้อ ๑) ความเป็นมากองทุนแม่ของแผ่นดิน : การแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามแนวทางสันติวิธีและสภาพปัญหาที่ผ่านมา โดยนายอดุลย์ ประยูรสิทธิ์ อดีต ผอ.ปปส.ภ.๔ ๒) ปลุกความคิดและอุดมการณ์กองทุนแม่ของแผ่นดิน โดยพลโทสุวรรณ เชิดฉาย ๓) ภัยคุกคามจากยาเสพติด ปัญหาของประเทศ โดยนายเพิ่มพงษ์ เชาวลิต อดีตเลขาธิการ ป.ป.ส.
วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ บรรยายในหัวข้อ ๑) ปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนงานยาเสพติดด้วยกระบวนการกองทุนแม่ของแผ่นดิน โดยนายพิสิทธิ์ พันธุ์ทอง เครือข่ายภาคประชาชน ๒) การพัฒนาการประสานงานและระบบสนับสนุนการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ และ๓) การขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน โดยนายธนิศร ศรีก๊กเจริญ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน
วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ บรรยายในหัวข้อ ๑) แผนปฏิบัติการกองทุนแม่ของแผ่นดิน ระยะ ๓ ปี และ ๒) แนวทางการขับเคลื่อนงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ และโครงการสำคัญ โดยนางสาวปฐมพร ชื่นใจชน สพป. และ ๓) แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติเส้นทางสู่ชุมชนปลอดภัยยาเสพติดด้วยแนวทางสันติวิธีและพลังของชุมชน
ในการนี้ ผอ.ปปส.ภ.๑ มอบนโยบาย และแนวทางการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน ดังนี้
๑. การซ่อม หมู่บ้าน C ให้เกิดการยกระดับหมู่บ้าน เช่นการคัดเลือกคณะกรรมการชุดใหม่ ไม่ควรเป็นข้าราชการ แต่มีควรการประสานรวมมือกันทุกภาคส่วน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน ครู ผู้นำชุมชน/ประชาชน กลุ่มสตรี และบัญชีกองทุนแม่ ถ้าศูนย์หายก็จัดทำใหม่ และเมื่อคณะกรรมการชุดเดิมหมดวาระ ก็ส่งต่อให้กับคณะกรรมการชุดใหม่ ทำอย่างไรให้เกิดความต่อเนื่อง และยั่งยืน
๒. กระตุ้นให้ชุมชน มีการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายาเสพติด มีแผนงาน โครงการที่จะดำเนินการ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ เช่นโครงการเดินเวรยาม โครงการอบรมต่างๆ
๓. โครงการชุมชนยั่งยืนของตำรวจ เน้นหมู่บ้านแพร่ระบาด โดยมีจุดแข็ง คือมีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำการในพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมาย ๔ เดือน เพื่อค้นหา ผู้เสพ ผู้ติด ผู้ค้า จะทำให้ปัญหายาเสพติดและอาชญากรรมลดลง แต่จะมีจุดอ่อน คือเมื่อครบ ๔ เดือน เจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะถอนกำลังออก ปัญหายาเสพติดและอาชญากรรม ก็อาจจะกลับมา แต่อยากให้ผู้นำชุมชน และประชาชนในชุมชน ช่วยกันป้องกัน และเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในชุมชน ในเกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน
๔. สำนักงาน ปปส.ภ.๑ จะหารือกับพัฒนาการจังหวัด ในเรื่องแผนงาน โครงการ งบประมาณ ของพัฒนาชุมชน ซึ่งมีเรื่องใดที่สำนักงาน ปปส.ภ.๑ สามารถหนุนเสริมเรื่องใดได้บ้าง ซึ่งในหมู่บ้าน C ปปส.ภ.๑ ก็จะสนับสนุนงบประมาณด้านยาเสพติดในโครงการ เฝ้าระวัง ป้องกัน เยาวชน และกีฬา ส่วนหมู่บ้าน A ก็จะให้ยกระดับ เป็น LC พัฒนาศูนย์เรียนรู้เพิ่มขึ้น เพื่อให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบในการรองรับการมาศึกษาดูงาน
หลังจากเสร็จโครงการฝึกอบรมหลักสูตรวิทยากรกระบวนการกองทุนแม่ของแผ่นดิน ระดับพื้นที่ (ครู ข) แต่ละจังหวัดต้องไปดำเนินการ
๑. กำหนดแผนปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับวิทยากร ครู ค โดยดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน ๒๕๖๘
๒. กำหนดเป้าหมายที่จะดำเนินการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๕ ของหมู่บ้านที่มีปัญหายาเสพติด
๓. กำหนดแผนปฏิบัติการกองทุนแม่ของแผ่นดิน ในการแก้ไขปัญหาเร่งด้วย เพื่อขอรับการสนับสนุนงบเงินอุดหนุน จากสำนักงาน ปปส.ภ.๑ ซึ่งประกอบด้วย
- การป้องกันไม่ให้มีผู้เสพรายใหม่เพิ่มขึ้น
- การบำบัดรักษาดูแลผู้เสพและผู้ป่วย
- การติดตามผู้ผ่านการบำบัดแล้วไม่ให้หวนกลับไปเสพซ้ำ
- การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชน