ผอ.ปปส.ภ.1 เข้าพบนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง เพื่อหารือแนวทางการขับเคลื่อนงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง

เมื่อวันที่ : 14 ก.พ. 2568 14:30
หน่วยงาน : สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 1
59 ครั้ง

วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 14.30 น. นายทิพเมษฐ์ สังขวรรณะ ผอ.ปปส.ภ.1 พร้อมด้วย นางสมพิศ แสงบุญเกิด ผอ.ปพ. และนายวัชรภูมิ โรจนพร นวค.ปก. เข้าพบนายแพทย์ทวีโชค โรจนอารัมภ์กุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง เพื่อหารือในประเด็น ดังนี้
ปัญหา : การดำเนินการในการส่งต่อผู้ป่วยที่ผ่านการบำบัดรักษา และส่งต่อไปยังศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม (ผ่านระบบ บสต.) เนื่องจากจังหวัดอ่างทองยังไม่มีผู้ขอรับความช่วยเหลือผ่านศูนย์ฯ

ข้อเสนอ : ควรมีการสอบถามผู้ผ่านการบำบัดฯ หรือพิจารณาตามความเหมาะสมว่าสามารถให้ความช่วยเหลือด้านใดให้กับผู้ผ่านการบำบัดฯ ได้บ้าง ซึ่งถ้าหากตรงตามหลักเกณฑ์ และมีความเหมาะสม ควรส่งต่อผู้ผ่านการบำบัดฯ ดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู ต่อไป

แนวทางการแก้ไข : ขอความร่วมมือให้ สสจ. เน้นย้ำกับ สสอ. และ รพ. ในการสอบถาม และการพิจารณาถึงความเหมาะสมในการขอความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ จากผู้ผ่านการบำบัดรักษา เพื่อให้การติดตาม ดูแล ช่วยเหลือ เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น และได้เน้นย้ำให้ สสจ. นำรายชื่อผู้เข้ารับการบำบัดรักษาในระบบสาธารณสุขทั้งหมดเข้าระบบ บสต. เพื่อให้ผลการดำเนินด้านการบำบัดรักษาเป็นไปตามเป้าหมายตามตัวชี้วัด

ปัญหา : อบจ. ไม่สามารถใช้รถฉุกเฉินในการนำส่งตัวผู้มีอาการทางจิตจากการใช้สารเสพติดไปยังโรงพยาบาลเฉพาะทางได้ เนื่องจากเงื่อนไขของสาธารณสุข

ข้อเสนอ : ควรมีเอกสารการรับรองจากสถานพยาบาลยาเสพติด ถ้าหากมีกรณีฉุกเฉิน เร่งด่วน และจำเป็นที่จะต้องนำส่งผู้ป่วยฯ ออกนอกพื้นที่ไปยังโรงพยาบาลเฉพาะทาง

แนวทางการแก้ไข :  ให้ รพ.อำเภอ/รพ.จังหวัด (สถานพยาบาลยาเสพติด) ให้การรับรองผู้ป่วยในกรณีที่จะต้องนำส่งไปยังโรงพยาบาลเฉพาะทาง เพราะถือว่าเป็นการรับรองตามเงื่อนไขให้ อบจ.สามารถใช้รถฉุกเฉิน (Ambulance) ในการนำส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลเฉพาะทางได้ และโรงพยาบาลสามารถรับผู้ป่วยจากนอกพื้นที่ได้ ในกรณีที่มีใบรับรองจากโรงพยาบาลต้นทาง

ปัญหา : บุหรี่ไฟฟ้า กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มเด็กและเยาวชน สร้างผลกระทบในระยะยาว

ข้อเสนอ : หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุนงานด้านการป้องกัน

แนวทางการแก้ไข : สสจ. ควรจัดซื้อชุดตรวจหาสารเสพติด (Nicotine) เพื่อตรวจในกลุ่มเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งสามารถคัดกรองกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มผู้ใช้ ได้ และเพื่อเป็นการดำเนินงานด้านการป้องปราม ตลอดจนสามารถต่อยอดไปสู่การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเสพติดชนิดต่าง ๆ โดยการจัดทำโครงการด้านการป้องกัน หรือการรณรงค์ ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับเด็กและเยาวชน ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

YouTube Instagram X Line search download
Q&A FAQ