วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 13.30 น. นายทิพเมษฐ์ สังขวรรณะ ผอ.ปปส.ภ.1 พร้อมด้วย นางสมพิศ แสงบุญเกิด ผอ.ปพ. และนายวัชรภูมิ โรจนพร นวค.ปก. เข้าพบนายชวนินทร์ วงศ์สถิตจิรกาล ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ณ ศาลางกลางจังหวัดอ่างทอง เพื่อหารือในประเด็น ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด
ปัญหา : ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดในทุกมิติ ยังมีผลการดำเนินงานต่ำ ซึ่งปัญหาที่พบส่วนใหญ่เกิดจากการนำเข้าข้อมูลในระบบ Nispa+ ผิดพลาด และยังมีความสับสนในการบันทึกข้อมูล
ข้อเสนอ : ควรมีการทำความเข้าใจกับอำเภอทุกอำเภอในการบันทึกข้อมูลในระบบ Nispa+ อีกครั้ง เพื่อลดข้อผิดพลาดในการบันทึกข้อมูล และเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผลการดำเนินงาน
แนวทางการแก้ไข : ผวจ. มีข้อสั่งการให้ ศอ.ปส.จ.ดำเนินการทำความเข้าใจกับ จนท.บันทึกข้อมูลทุกอำเภอ เพื่อลดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น และให้ Mornitor ข้อมูลตลอดเวลาหากมีเป้าหมายที่ต้องเร่งดำเนินการ จะได้ดำเนินการได้ทันที
2. การปรับปรุงอาคารเพื่อรองรับผู้ป่วยจิตเวชจากการใช้สารเสพติด และการนำส่งผู้ป่วยจิตเวชฯ ไปโรงพยาบาลเฉพาะทาง
ปัญหา : สถานพยาบาลยาเสพติด และพื้นที่อื่น ๆ ไม่เพียงพอต่อการรรองรับผู้ป่วยฯ และไม่มีสมรรถนะมากพอที่จะรองรรับผู้ป่วยฯ ได้ และไม่มีงบประมาณรองรรับในการปรับปรุงอาคาร นอกจากนี้ยังขาดแนวทางที่ชัดเจนในการนำส่งตัวผู้มีอาการทางจิตจากการใช้สารเสพติดไปโรงพยาบาลเฉพาะทาง
ข้อเสนอ : ควรต่อเติมโรงพยาบาลเพื่อรองรับผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตจากการใช้สารเสพติด และควรหาแหล่งงบประมาณที่สามารถนำมาปรับปรุงอาคารดังกล่าวได้ เช่น งบกองทุน ป.ป.ส. หรือ งบ อบจ.
แนวทางการแก้ไข : ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ (เงินกองทุน) จาก สนง.ป.ป.ส. หรือ อบจ. เพื่อเสริมสมรรถนะในการบำบัดรักษาให้กับโรงพยาบาลในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง นอกจากนี้ ผวจ.อท. จะกำหนดแนวทางที่ชัดเจนให้ อบจ. สามารถดำเนินการนำส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลเฉพาะทาง โดยเป็นข้อยกเว้นกรณีพิเศษ เนื่องจากผู้ป่วยฯ กลุ่มนี้อาจสร้างผลกระทบรุนแรงต่อชุมชนได้
3. การขับเคลื่อนงานของเครือข่ายกองทุนแม่
ปัญหา : ยังไม่มีหมู่บ้านที่เป็น Best Practice ในการรขับเคลื่อนงานยาเสพติดของจังหวัด
ข้อเสนอ : ควรดำเนินการค้นหา หรือ สร้างหมู่บ้านที่มีศักยภาพมากพอขึ้นมา เพื่อเป็นต้นแบบในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายาเสพติด ให้กับหมู่บ้าน หรืออำเภออื่น ๆ
แนวทางการแก้ไข : สำนักงนา ปปส.ภ.1 ดำเนินการหนุนเสริมงานยาเสพติด โดยนำเสนอแผนการดำเนินงานโครงการอบรม ครู ข ของ สนง.ปปส.ภ.1 เพื่อพัฒนาวิทยากรกระบวนการทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ และหมู่บ้านชุมชน เพื่อมาขับเคลื่อนในจังหวัดต่อไป โดย ผวจ.อท. ได้ให้ข้อมูลถึงเครือข่ายกองทุนแม่อำเภอป่าโมก มีการดำเนินงานในพื้นที่ตำบลบางเสด็จ ในรูปแบบของธวัชบุรีโมเดล ซึ่งสามารถนำมาเป็นต้นแบบ (Best Practice) ให้กับอำเภออื่น ๆ ได้ รวมถึงกลไกของคณะกรรมการหมู่บ้าน ที่สามารถช่วยเหลืองานยาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากว่าชุมชนนั้น ๆ มีความเข้มแข็ง และเอาจริงเอาจังในเรื่องของงานยาเสพติด ก็จะสามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ ผวจ.อท. ได้เน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ทุกหน่วยงานต้องมีการบูรณาการการทำงานทั้งในด้านงบประมาณ และการปฏิบัติในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการ และ อปท. หรือภาคประชาชน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในทุกมิติ ทั้งด้านปราบปราม ป้องกัน และบำบัดรักษา เพื่อให้ปัญหายาเสพติดในจังหวัดอ่างทองลดลง และผู้เสพยาเสพติด/ผู้มีอาการทางจิตจากการใช้สารเสพติด สามารถกลับใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติในสังคม ต่อไป